วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน 2567 22:45น.

ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น HR+ HER2

2 กุมภาพันธ์ 2023

        “ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นที่ที่มีผลบวกต่อตัวรับฮอร์โมน (hormone receptor, HR) และผลลบต่อตัวรับชนิด human epidermal growth factor receptor (HER2)” ที่จัดขึ้น ณ ห้อง Ballroom 3 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ โดย พญ.ชาฮีน่า ดาวูด แพทย์ผู้เชียวชาญและที่ปรึกษาด้านโรคมะเร็ง จาก Mediclinic Middle East ประเทศ UAE ร่วมด้วย ศ.ดร.นพ.พรชัย โอเจริญรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม หัวหน้าศูนย์เต้านม โรงพยาบาลเมดพาร์ค และศัลยแพทย์ด้านมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลเจ้าพระยา ถ่ายทอดประสบการณ์ตรง หลังเคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม และใช้เวลารักษาตัว

        ปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงและ มะเร็งเต้านมชนิด HR+ HER2 เป็น sub type ที่พบได้บ่อยที่สุด American Cancer Society หรือนับเป็น 1 ใน 8 ของผู้หญิงจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงชีวิตหนึ่ง ระยะของมะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ได้แก่ ประวัติครอบครัว อายุ ประวัติสุขภาพส่วนบุคคล และการเลือกใช้ชีวิต แม้ว่าจะไม่มีวิธีที่แน่นอนในการป้องกันมะเร็งเต้านม แต่มีสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยง สิ่งเหล่านี้รวมถึงการรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่ามีความหวัง ด้วยความก้าวหน้าในการรักษา อัตราการรอดชีวิตของมะเร็งเต้านมจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้ ผู้หญิงมากกว่า 80% ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นจะอยู่รอดได้อย่างน้อย 5 ปี และมากกว่า 60% ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายจะอยู่รอดได้อย่างน้อย 5 ปี การตรวจเจอในระยะเริ่มต้น และการรักษาที่เหมาะสม โอกาสในการรอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมจะดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา

        โดยจากข้อมูลในปี พ.ศ.2563 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ราว 18,000 คนต่อปี หรือคิดเป็น 49 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน หรือคิดเป็น 13 คนต่อวัน โดยพบว่า 70% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมดเป็นชนิด HR+, HER2 การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมชนิด HR+, HER2- มักตรวจพบในระยะเริ่มต้น ซึ่งแนวโน้มอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดการณ์ว่าในปีนี้ พ.ศ.2566 จะพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 22,000 คน อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งเต้านมสามารถตรวจวินิจฉัยพบได้ในระยะเริ่มต้นถึงร้อยละ 90 ทั้งนี้ร้อยละ 70 มักจะเป็นชนิดที่มีผลบวกต่อตัวรับฮอร์โมน การรักษามะเร็งเต้านมระยะแรก ประกอบไปด้วยการผ่าตัดก้อนเนื้อออก โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ และ/หรือ ร่วมกับการรักษาเสริมตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ระยะของโรค ข้อมูลทางชีวโมเลกุล ตามการแสดงออกของยีนผิดปกติในเซลล์มะเร็ง ระดับของโปรตีนที่ผิดปกติบางชนิดในเซลล์มะเร็ง รวมทั้งปัจจัยทางร่างกายของผู้ป่วยและการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งการรักษามักจะประกอบไปด้วย การรักษาด้วยยาฮอร์โมน ยาเคมีบำบัด รังสีรักษา และการรักษาด้วยยาพุ่งเป้า (Targeted Therapy) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาถึงความเสี่ยงของผู้ป่วยรายบุคคลและตัดสินการรักษาตามแนวทางมาตรฐานต่อไป

        เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว มีแนวทางการรักษาแตกต่างกันไป ขึ้นกับระยะและชนิดของมะเร็ง นอกจากชนิดของมะเร็งแล้ว การแบ่งระยะของโรค ต้องอาศัยข้อมูล 3 ส่วนคือ 1. ขนาดก้อน โดยวัดจากก้อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 2. การแพร่กระจายของมะเร็งไปต่อมน้ำเหลือง และ 3. การแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น

         อย่างไรก็ดี เมื่อได้ข้อมูลทั้ง 3 ส่วนเบื้องต้นแล้ว จะทราบว่าเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไหร่ มีตั้งแต่มะเร็งระยะ 0-4 โดยการรักษาจะเป็นไปตามระยะของโรค ประกอบด้วย 1.มะเร็งเต้านมระยะศูนย์(0) เป็นมะเร็งที่ยังไม่ลุกลามออกนอกท่อน้ำนม โอกาสที่จะกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมีเพียง 1-2 % หากรักษาถูกต้องโอกาสหายขาดมากกว่า 98% การรักษาหลักของมะเร็งระยะนี้คือ การผ่าตัด และ 2. มะเร็งเต้านมระยะต้น ( ระยะ1 และ2) มะเร็งเต้านมระยะนี้มะเร็งมีขนาดไม่ใหญ่กว่า 5 ซม. ไม่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง หรือกระจายไปไม่เกิน 3 ต่อม และไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น การรักษามะเร็งเต้านมระยะนี้ การรักษาหลักคือการผ่าตัด ส่วนการรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาเสริม เช่น ยาเคมีบำบัด การฉายแสง ยาพุ่งเป้า ยาต้านฮอร์โมน แพทย์จะใช้ข้อมูลระยะโรคร่วมกับชนิดของโรค มาวางแผนการรักษา โดยชนิดของโรคทราบจากการตรวจย้อมพิเศษชิ้นเนื้อ เพื่อจำแนกชนิดมะเร็งได้แก่ การย้อมตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน(ER) ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน(PgR) ยีนมะเร็งเฮอร์ทู (HER2)

        ทั้งนี้ สำหรับเป้าหมายสูงสุดของการรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นคือ การป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดเป็นซ้ำ และแพร่กระจาย รวมถึงการช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยกว่าร้อยละ 20 มักเกิดโรคซ้ำและอาจนำไปสู่โรคมะเร็งระยะแพร่กระจายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด และทำให้เสียชีวิตได้ต่อมา1 ผู้ป่วยที่มีการเกิดโรคซ้ำและเกิดการแพร่กระจาย มักจะเกิดภายในใน 2-3 ปี หลังได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเต็มที่แล้ว โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นที่มีความเสี่ยงสูง สำหรับปัจจัยร่วมที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงสูงของการเกิดโรคซ้ำประกอบด้วย2,3: 1.การตรวจพบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง 2.ก้อนเนื้อเนื้องอกขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร 3.ระดับความรุนแรงของเซลล์มะเร็งเกรดสาม 4.อัตราการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ที่สูง

         ในช่วงที่ผ่านมาการรักษาด้วยยาฮอร์โมนเสริมเป็นเวลาประมาณ 5 ปี เป็นการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีผลบวกต่อตัวรับฮอร์โมนระยะเริ่มต้น  ในปัจจุบันนี้การรักษาเสริมด้วยยาฮอร์โมนร่วมกับยาพุ่งเป้า (Targeted Therapy)  ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการกลับมาเป็นซ้ำจะช่วยลดความเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำและกระจายของโรคได้ 6


คลิปวิดีโอ