วันพฤหัสบดี ที่ 24 เมษายน 2568 19:58น.

กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ร่วมกับกลุ่มแอกซ่า จัดทำวิจัย AXA Mind Health 2025 สำรวจสุขภาพจิตของคนไทย และทั่วโลก

24 เมษายน 2025

        บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ร่วมกับกลุ่มแอกซ่า จัดทำผลวิจัย AXA Mind Health 2025 เพื่อสำรวจสุขภาพจิตของคนไทย และคนทั่วโลก เพื่อวิเคราะห์ว่า กลุ่มวัยใดที่กำลังเผชิญกับปัญหาทางใจมากที่สุด พร้อมวัดระดับสุขภาพใจด้วยตัวเอง โดยประเด็นสุขภาพจิตยังคงเป็นปัญหาระดับโลกและเป็นประเด็นที่กลุ่มแอกซ่าให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยทุกๆ ปี กลุ่มแอกซ่าจะร่วมมือกับบริษัทวิจัยมาตรฐานโลก Ipsos ในการติดตามระดับสุขภาพจิตของคนทั่วโลก โดยล่าสุดมีการสำรวจประชากรกว่า 17,000 คน จาก 16 ประเทศ โดยใช้ AXA Mind Health Index เป็นตัววัดระดับสุขภาพจิต และแบ่งสถานะทางจิตใจของผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็น 4 สถานะ ได้แก่ “Flourishing” (เบิกบานใจ) “Getting by” (เรื่อยๆ) “Languishing” (เหนื่อยหน่าย) และ “Struggling” (กำลังมีปัญหา)

        โดยผลสำรวจล่าสุดของประเทศไทยและทั่วโลก พบว่า 1.ผู้คนทั่วโลกถึง 43% กำลังเผชิญสภาวะ “Languishing” (เหนื่อยหน่าย) และ “Struggling” (กำลังมีปัญหา) และมีเพียง 25% ที่อยู่ในระดับ “Flourishing” (เบิกบานใจ) และกว่า 32% กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตอย่างน้อยหนึ่งอาการ

        2.ผู้หญิงเผชิญปัญหาสุขภาพใจมากกว่าผู้ชาย และเด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงาน (อายุ 18-24 ปี) เผชิญปัญหามากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ  (57% ของวัยรุ่นกำลังเผชิญปัญหา เมื่อเทียบกับ 29% ในกลุ่มอายุ 55 ปี)

       3.แม้ว่า Gen Z จะได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจิตมากกว่า กลุ่มวัยอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกัน Gen Z เป็นกลุ่มวัยกล้าที่จะพูดถึงปัญหานี้และขอความช่วยเหลือจากคนอื่นมากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ

       4.งานเป็นทั้งแหล่งที่มาของความสนับสนุนและความเครียด โดยพบว่าพนักงานทั่วโลกถึง 53% มีระดับความเครียดสูงกว่าค่าเฉลี่ย และจากตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรจำเป็นต้องมีนโยบายด้านสุขภาพจิตสำหรับพนักงาน เพื่อป้องกันการ Burn out และอาการทางสุขภาพจิตอื่นๆ ของพนักงาน

        5.Top 5 เรื่องที่คนทั่วโลกกังวลมากที่สุด:

        5.1 ความไม่มั่นคงทางการเงินและความไม่แน่นอนในหน้าที่การงาน (53%)

        5.2 ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (53%)

        5.3 การได้รับข่าวสารเชิงลบจากสื่ออย่างต่อเนื่อง (45%)

        5.4 ความไม่สงบทางสังคมและการเมือง (42%)

        5.5 ความเหงาและการแยกตัวจากสังคม (42%)

       5.เรื่องสุขภาพใจของคนไทยจาก AXA Mind Health Report 2025

        1.สำหรับประเทศไทย แม้ผลสำรวจจะบอกว่าเรามีความสุขมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (33% ของคนไทยอยู่ในระดับ “เบิกบาน” เทียบกับ 25% ทั่วโลก) และมีสุขภาพจิตดีเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศจีน (37%) แต่ 31% กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต

       2.มีเพียง 27% ของคนไทยที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่ขอรับความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยารวมถึงผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่อีก 62% ของผู้ที่กำลังประสบปัญหากลับเลือกที่จะดูแลสภาพใจด้วยตัวเอง ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (42%) ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าสุขภาพใจไม่ควรเป็นเรื่องที่ใครต้องเผชิญอย่างโดดเดี่ยว และการขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญ

       3.42% ของ GEN Z ช่วงวัย 18-24 ปี กำลังเผชิญความเครียด วิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้ามากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่สังคมต้องเปิดกว้างให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตอย่างเข้าใจและสร้างพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้น

       4.46% ของพนักงานในประเทศไทยระบุว่ามีระดับความเครียดสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดย Top 3 เรื่องที่กังวล ได้แก่ ความไม่มั่นคงทางการเงินและการงาน (60%) รายได้และเงินเดือน (60%) และภาวะเศรษฐกิจ (59%) ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงบทบาทขององค์กรที่จำเป็นต้องให้ความสนับสนุนสุขภาพกายและใจ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านการเงินให้กับพนักงาน

       5.ผลสำรวจเผยว่าความเครียดจากการทำงานส่งผลต่อปัญหาชีวิตประจำวันในด้านอื่น ๆ ด้วย โดยกระทบการนอนหลับ (45%) อาการทางกาย เช่น ปวดหัวหรือปวดกล้ามเนื้อ (41%) หงุดหงิดหรืออารมณ์แปรปรวน (39%)

       ทั้งนี้จากผลวิจัยดังกล่าว ทางกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ได้มุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่อบอุ่น เข้าใจ และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคน โดยบริษัทฯ มีการสนับสนุนหลากหลายรูปแบบผ่านโปรแกรม We Care ที่มอบการดูแลสุขภาพจิตแบบครอบคลุมในทุกช่วงชีวิต รวมถึงการลาหยุดเพื่อรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก การแท้งบุตร การคลอดบุตร และการเผชิญความรุนแรงในครอบครัวหรือทางเพศ นอกจากนี้ยังมีนโยบายชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น บริการให้คำปรึกษา และสิทธิ์ในการใช้สวัสดิการสุขภาพจิตภายใต้ประกันสุขภาพกลุ่ม นอกจากนี้สำหรับลูกค้าโครงการ กรุงไทย-แอกซ่า Privilege PLUS+ สามารถตรวจเช็คสุขภาพจิตใจผ่านทางออนไลน์ โดยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตหรือนักจิตวิทยาผ่านช่องทางโทรศัพท์ผ่าน iStrong ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเป็นผู้ให้คำปรึกษาภายใต้บริการ KTAXA Mind Health Consultation

         สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจอยากเข้าวัดระดับสุขภาพใจของตัวเอง สามารถคลิกเข้าไปทำแบบทดสอบได้ด้วยตนเองผ่านบริการ https://mindhealthselfcheck.axa.com/ เครื่องมือที่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้าไปประเมินสุขภาพใจเบื้องต้นของตนเอง และค้นหาวิธีดูแลตัวเองได้ดียิ่งขึ้น และสามารถเข้าไปดูผลสำรวจฉบับเต็มเพิ่มเติมได้ที่ https://www.axa.com/en/about-us/mind-health-report#index

 


ข่าวล่าสุด ประกัน more
คลิปวิดีโอ