วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 01:56น.

“เซ็นทรัลพัฒนา” จับมือพันธมิตร SCG นำกรีนโซลูชันพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสระดับประเทศ

22 มีนาคม 2024

        บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้นำเบอร์ 1 อสังหาริมทรัพย์ไทยยั่งยืนระดับโลกบน DJSI World 2023 และผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล, โครงการที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรมทั่วประเทศ ขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Imagining better futures for all’ มุ่งพัฒนา ‘พื้นที่’ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าเป้าหมาย NET Zero 2050 อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เข้าร่วมรับรางวัลโล่เกียรติคุณกลุ่ม Developer ชั้นนำของเมืองไทยร่วมสร้างอุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียว ในงาน Inclusive Green Growth Days Empowered by SCG: เติบโตและยั่งยืนไปด้วยกัน โดยมี คุณชาตรี โกวิทานุพงศ์ Executive Project Director, Regional Development 1 บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เข้ารับรางวัลจาก นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน

        นายชาตรี โกวิทานุพงศ์ Executive Project Director Regional Development 1 บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า “ทางเซ็นทรัลพัฒนารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก Cement and Green Solution Business ภายใต้ SCG ในครั้งนี้ โดยที่ผ่านมาเราได้จับมือเป็นพันธมิตรกันเพื่อผลักดันสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ นำร่องโครงการต้นแบบ Framework Pathway to Net Zero Building Guideline นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีขององค์กรที่มีทิศทางด้านความยั่งยืน โดยเราได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกในกลุ่มซีเมนต์ คอนกรีต และกรีนโซลูชันในการพัฒนาและก่อสร้างโครงการมิกซ์ยูสสำคัญของเราคือ โครงการเซ็นทรัล นครสวรรค์ และโครงการ เซ็นทรัล นครปฐม ที่เตรียมเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 มี.ค.67 โดยเลือกใช้ปูน Low Carbon รวมถึงมีการรีไซเคิลเสาเข็มที่ได้ริเริ่มมาตั้งแต่การพัฒนาโครงการเซ็นทรัล ศรีราชา และเซ็นทรัลจันทบุรี และการดำเนินงานภายใต้ Green Standard ต่างๆ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่ช่วยให้เราเดินหน้าสู่เป้าหมาย NET Zero 2050 ได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง”

        ทั้งนี้ เซ็นทรัลพัฒนา มีแผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ NET Zero 2050 หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 แบ่งได้ 3 หมวดหลัก คือ หมวดที่ 1: Decarbonized operational emissions ผ่านการดำเนินงาน ได้แก่ 1) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 2) เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด (solar) 3) ลดขยะฝังกลบ 4) ลดการใช้น้ำ 5) ชวนร้านค้าผู้เช่าลดการใช้พลังงานและแยกขยะ; หมวดที่ 2: Decarbonized embodied emission ผ่านการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การนำมาตรฐานอาคารเขียวระดับสากล Green building เช่น LEED, TREES, EDGE มาเป็นแนวทางในการก่อสร้าง 2) การวัด LCA-Life cycle assessment ของการก่อสร้าง 3) ร่วมมือกับ supplier และ contractor ในการเพิ่มปริมาณรีไซเคิลในวัสดุก่อสร้าง และ หมวดที่ 3: Carbon removal โดยการปลูกป่าทดแทน และ R&D เพื่อหานวัตกรรม Sustianovation มาช่วย capture carbon


คลิปวิดีโอ