วันเสาร์ ที่ 19 ตุลาคม 2567 07:56น.

“ซิตี้แบงก์” คว้ารางวัลธนาคารยอดเยี่ยมเพื่อการลงทุนประจำปี 64 จากนิตยสาร The Banker

22 ตุลาคม 2021

        ธนาคารซิตี้แบงก์ ได้รับรางวัลธนาคารเพื่อภาคธุรกิจยอดเยี่ยมของเอเชีย ประจำปี 2564 (Investment Bank of the Year in Asia for 2021) จากนิตยสาร The Banker ที่ดำเนินการโดย Financial Times ทั้งนี้รางวัลดังกล่าวเป็นที่ยอมรับจากการสนับสนุนของลูกค้าซิตี้ทั่วทั้งเครือข่ายระดับภูมิภาค สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของซิตี้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ให้บริการจัดหาเงินทุนครอบคลุมลูกค้าในทุกภาคส่วน อาทิ ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ และการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี

        มร.ยาน เมตสเกอร์ ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการธนาคารและตลาดทุน ซิตี้แบงก์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ปัจจุบันซิตี้แบงก์กำลังดำเนินการเพิ่มทุนให้กับลูกค้าในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีการระดมทุนมากกว่า 100 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างการเพิ่มความแข็งแกร่งของงบดุล และการจัดหาเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทุกภาคอุตสาหกรรม และด้วยเครือข่ายทั่วโลกของซิตี้แบงก์ได้ช่วยให้การดำเนินงานกับลูกค้ามีความชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่ลูกค้ามีความต้องการทราบถึงมุมมองและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากขึ้นเช่นกัน

        โดยตลอดปี 2564 ซิตี้แบงก์ยังได้รับการเสนอชื่อจากทั่วโลกในฐานะธนาคารเพื่อภาคธุรกิจแห่งปีในด้านบริการจัดหาเงินทุนครอบคลุม อาทิ ด้านการลงทุน (Investment Bank of the Year) การระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ (Investment Bank for IPOs) และการลงทุนควบรวมหรือซื้อกิจการ (Investment Bank for M&A) ซึ่งในช่วงระยะเวลาของข้อตกลง 12 เดือนที่ผ่านมา ซิตี้แบงก์เป็นผู้นำข้อตกลงที่สำคัญหลายแห่งของภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ซิตี้แบงก์ยังเป็นผู้นำด้านการจัดหาเงินทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในภูมิภาค โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานร่วมระดับโลกด้านพันธบัตรสีน้ำเงินเปิดตัวของธนาคารแห่งประเทศจีนถือเป็นรายแรกในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน 2.75 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯของโตโยต้า ซึ่งถือเป็นการจัดหาเงินทุน ESG ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาโดยบริษัทในเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนตราสารหนี้อิสลามสีเขียว (Green sukuk) อายุ 30 ปี มูลค่า 750 ล้านเหรียญของอินโดนีเซีย เป็นตราสารหนี้อิสลามสีเขียวที่มีอายุยืนยาวที่สุดที่เคยมีมาทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่าธุรกรรมเหล่านี้ได้ผลักดันให้ลูกค้า ESG ของธนาคารฯ สามารถเข้าถึงเงินทุนเกือบ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจวบจนถึงปัจจุบัน

        อย่างไรก็ตามภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตหลักสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจโลกในปีต่อ ๆ ไปมากขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยเหตุนี้ตลาดทุนที่คึกคักจึงคาดว่าจะมีทิศทางขาขึ้นที่แข็งแกร่งต่อไป ซิตี้แบงก์ในฐานะธนาคารชั้นนำระดับโลกที่มีเครือข่ายระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในตลาดทุนของภูมิภาคนี้ ในขณะเดียวกัน ธนาคารฯ ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและความสัมพันธ์ข้ามเครือข่ายทั่วโลกในวงกว้างและเครือข่ายเชิงลึกเพื่อส่งมอบโซลูชันที่ครอบคลุมสำหรับลูกค้าในภูมิภาค ตลอดจนสนับสนุนลูกค้าในตลาดที่จัดตั้งขึ้นเช่นเดียวกับตลาดเกิดใหม่


คลิปวิดีโอ