วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 15:55น.

อายิโนะโมะโต๊ะ ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งลดการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่า

15 พฤศจิกายน 2022

        บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด มุ่งส่งเสริมการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายระยะยาวในการลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) และของเสียจากการเหลือทิ้ง (Food Waste) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ลงให้ได้ 50% ภายในปี 2593 (เมื่อเทียบกับปี 2561) โดยในระยะที่ 1 หรือแผนงานเป้าหมายระยะสั้นที่ทางบริษัทมุ่งเน้นและตั้งเป้าหมายในการเร่งรัดการจัดการ คือลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) และของเสียจากการเหลือทิ้ง (Food Waste) ภายในห่วงโซ่การผลิตและการดำเนินการของบริษัทเองให้ได้ 50% ภายในปี 2568 (เมื่อเทียบกับปี 2561) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ พร้อมชูหลักการ 3R (Reduce, Reuse, Recycle) เข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับกิจกรรมทางธุรกิจในทุกโรงงานและสถานประกอบการ ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ การผลิตและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)

        ข้อมูลจาก Food Waste Index Report ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Program)เปิดเผยว่า ในแต่ละปี อาหารกว่า 1,300 ล้านตัน หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้ทั่วโลก ต้องกลายเป็นขยะอาหารที่ถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่าและสร้างก๊าซเรือนกระจกถึง 8% ซึ่งอายิโนะโมะโต๊ะ ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารระดับโลก จึงมุ่งมั่นส่งเสริมกระบวนการผลิต การบริโภค และการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน โดยบริหารจัดการทุกกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด มุ่งลดการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้แนวคิด “TOO GOOD, TOO WASTE” ซึ่งริ่เริ่มโดยกลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ โดยตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปีงบประมาณที่ผ่านมา อายิโนะโมะโต๊ะ ประเทศไทย สามารถลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารได้แล้วถึง 43% (หรือ 843 ตัน) จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50% ภายในปี 2568 และกำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ด้วยการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าสูงสุด อาทิ การบริหารจัดการกระบวนการผลิตโดยไม่ก่อให้มีของเสีย การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่เหมาะสมโดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมุ่งลดของเสียในกระบวนการจัดจำหน่าย เป็นต้น


คลิปวิดีโอ