วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน 2567 21:39น.

ไข้หวัดใหญ่ สูงวัย ต้องระวัง! ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

24 กรกฎาคม 2023

        โรงพยาบาล พญาไท 2 เตือนภัยไข้หวัดใหญ่อันตรายถึงชีวิต พบได้ในทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงวัย ซึ่งจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งจะทำให้มีอาการในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โรคนี้มีอัตราเสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และหากเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาทิ โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคอ้วน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงจากอาการแทรกซ้อนไปจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวมีภูมิคุ้มกันในร่างกายก็เสี่ยงอันตรายเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน

        การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะในผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งเป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลมากที่สุด เพราะเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและป้องกันความรุนแรงของโรค และยังสามารถลดอันตรายจากการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลและลดภาวะโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งควรฉีดวัคซีนให้เหมาะสมกับคนในแต่ละวัย และเข้ารับการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปีจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด

ปกป้องผู้สูงวัยได้ด้วยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose

        เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีข้อบ่งใช้สำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และลดการนอนโรงพยาบาลจากปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดใหญ่ ในผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้มีการใช้มานานกว่า 10 ปี ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในยุโรปมีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นจากวัคซีนขนาดปกติ (Standard Dose) ถึง 24 %มีปริมาณแอนติเจนในการกระตุ้นภูมิเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากไข้หวัดใหญ่ได้เพิ่มขึ้นจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

– จากการเกิดปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 27.3%

– จากโรคหัวใจและระบบหายใจเพิ่มขึ้น 17.9%

– จากไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 11.7%

– จากสาเหตุทั้งหมดที่เกี่ยวกับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 8.4%

        นพ.ธนารักษ์ สถาพรวรศักดิ์ อายุรแพทย์ และผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจประกัน และโรงพยาบาลพันธมิตร โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าว ในปีหนึ่งจะมีไข้หวัดใหญ่แพร่กระจาย 2 รอบ 1) ไข้หวัดใหญ่ในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งในช่วงนี้จะมีวัคซีนสายพันธุ์ซีกโลกใต้ออกวางจำหน่าย ตลอด 6 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นวัคซีนสายพันธุ์จากซีกโลกเหนือ แถบยุโรป อเมริกา จีน ซึ่งสายพันธุ์เหล่านี้องค์กรอนามัยโลกจะเป็นคนกำหนดเชื้อที่จะนำมาใช้ทำวัคซีนโดยใช้ระบาดวิทยา เลือกเชื้อ 3-4 สายพันธุ์ที่มีการระบาดในช่วงปีนั้นมาผลิตวัคซีน แต่จะฉีดสายพันธุ์เหนือหรือใต้นั้น ก็ได้ แต่สายพันธ์ใต้นั้น จะตรงกับคนไทยมากกว่าตามสถิติที่พบเจอคนไข้ และควรฉีดช่วงสงกรานต์ทุกปี เพราะวัคซีนจะออกช่วงเดือนเมษายน ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ในการสร้างภูมิต้านทาน เพราะฉะนั้นถ้าฉีดช่วงสงกรานต์ก่อนเข้าฤดูฝน ก็จะเป็นสร้างเกาะป้องกันไว้ก่อนเข้าฤดูฝน ซึ่งสามารถฉีดได้ทั้งแบบ 3 หรือ 4 สายพันธุ์ก็ได้ ซึ่งวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสูง แต่ยังคงพบอาการข้างเคียงได้บ้าง ดังนี้ อาการปวดบริเวณที่ฉีด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และรู้สึกไม่สบาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและยอมรับได้ และอาการจะหายไปในระยะเวลา 2-3 วัน


คลิปวิดีโอ