วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน 2567 04:46น.

พลิกโฉมวงการประกันภัย ทิพยฯ ผุดแพลตฟอร์ม ลดต้นทุน”เซอร์เวย์-อู่”

26 มิถุนายน 2023

        พลิกโฉมวงการประกันภัย ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เตรียมผุดแพลตฟอร์มใหม่ “ดี พี เซอร์เวย์” ลุย“สมาร์ทเซอร์เวย์” เคลมทั่วไทย หวังปั้นคนหาอาชีพเสริม ล่าสุดทดลองจับมือ “โรบินฮู้ด” ตรวจเช็คระบบ ถ้าไม่มีปัญหาขัดข้อง สามารถเดินหน้าเปิดรับคนทั่วไปที่สนใจหารายได้เสริมทันที

        ดร. สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เตรียมพร้อมเปิดแพลตฟอร์มด้านเซอร์เวย์ และมีการชวนบริษัทประกันภัยเข้ามาร่วมใช้ด้วยกัน ปัจจุบันอัตราการเคลมระหว่างรถชนรถอยู่ที่ 40% เคลมแห้งอยู่ที่ 60% ด้านค่าใช้จ่ายพนักงานเคลมอยู่ที่ 700 บาทต่อเที่ยว โดยในปี 2567 จะได้เห็น “ดี พี เซอร์เวย์ แอนด์ลอว์” และปัจจุบันกำลังสร้างแพลตฟอร์มของ “ดี พี เซอร์เวย์” ซึ่งได้มีการทดลองไปแล้วเรียกว่า “สมาร์ทเซอร์เวย์” เหมาะกับคนที่ต้องการอยากทำงานเซอร์เวย์เป็นอาชีพเสริมสามารถมาลงทะเบียนในแพลตฟอร์มนี้ หากเกิดอุบัติเหตุสามารถรอรับงานอยู่บ้าน ซึ่งตอนนี้ยังไม่เปิดทดลองกับคนทั่วไป แต่ได้ทดลองจับมือกับทาง “โรบินฮู้ด” เพื่อตรวจเช็คดูระบบ ถ้าผ่านต่อ จากนี้ไปจึงเปิดให้กับคนทั่วไป ทั้งนี้ทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมก่อน ซึ่งปัจจุบันมีการเริ่มฝึกไปตั้งแต่เดือนที่แล้วผลตอบรับถือว่าดีมาก และสามารถขยายกำลังคนไปในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศโดยที่ไม่ต้องไปจ้างเพื่อมาทำงาน สำหรับการพัฒนาบุคลากรจะใช้ทาง “ทิพยอคาเดมี่” เป็นฝ่ายพัฒนา และในอนาคตจะขยายบริการไปสู่การเคลมในเรื่องของนอนมอเตอร์ได้ในเคลมที่ไม่ซับซ้อน ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ผ่านสมาร์ทโฟนช่วยได้มหาศาล

         สำหรับแฟลตฟอร์มนี้ เนื่องจากมองเห็นความเป็นจริงหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาหนึ่งครั้ง แล้วมีรถยนต์เกิดเหตุ 3 คันแต่ต่างบริษัทประกันภัย ซึ่งแต่ละบริษัทฯจะส่งพนักงานออกไปพร้อมกันทำให้ค่าใช่จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า เพราะฉะนั้นแพลตฟอร์มนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายของบริษัท และยังสามารถสร้างความเชื่อถือได้เป็นมาตรฐาน โดยออกไปดูแลลูกค้าเพียงบริษัทเดียวแต่ดูได้ทุกบริษัท ส่วนค่าใช้จ่ายจะนำออกมาหาร 3 เท่ากัน เพราะฉะนั้นทำให้ต้นทุนของอุตสาหกรรมลดลง แล้วให้มันเกิดมาตรฐานอย่างเดียวกัน ในความเป็นจริงบริษัทประกันภัยควรไปแข่งกันด้านอื่นมากกว่าที่จะมาทำเรื่องนี้

        “ถ้าสมมุติเราจับมือทำร่วมกับอุตสาหกรรมประกันภัยได้ในการทำ ตัวแพลตฟอร์มนี้ก็จะสามารถขยายไปในเรื่องของการที่จะสร้างแพลตฟอร์มสำหรับอู่ซ่อมรถยนต์ได้อีกด้วย เราจะสังเกตได้ทุกวันนี้ในประเทศไทยเราไม่มีอู่ที่เป็นเชนเหมือนกับโรงแรมหรือโรงพยาบาล อู่ก็จะเป็นเจ้าของที่ต่างคนต่างทำ มาตรฐานต่างคนต่างทำหรืออู่ไหนที่ทำแล้วประสบความสำเร็จก็อาจจะเปิดเครือข่ายของตัวเอง 3-5 อู่ แต่มันก็ยังเป็นแค่วงจำกัดอยู่ตรงนั้นแต่ถ้าเราสามารถจะทำมาตรฐานเหมือนกับเช่นโรงพยาบาลหรือโรงแรมได้ ว่าเมื่อเข้าไปใช้บริการแล้วรู้เลยว่าเป็นมาตรฐาน ซึ่งเราก็สามารถที่จะไปเชิญชวนอู่ต่างๆให้เข้ามาอยู่ใน และร่วมพัฒนามาตรฐานด้วยกัน ผลักดันให้กลายเป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ยังมองไปถึงการจัดซื้ออะไหล่รถรวมกันจะทำให้ต้นทุนลดลงอันนี้ก็เป็นมุมมองที่เราคิดว่าเราอยากจะทำนะครับ ปัจจุบันโดยเฉพาะธุรกิจประกันภัยยุคใหม่เขาจะให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องที่เป็นธุรกิจหลักซึ่งอันนี้ไม่ใช่ แต่ถ้ามีคนมาบริหารจัดการภาพรวมให้และเป็นประโยชน์สำหรับเขาผมก็เชื่อว่าเขาทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทประกันภัยต่างชาติทุกวันนี้เขาก็ไม่อยากจะมีหน่วยงานที่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นมาใช้รวมกันจะเป็นประโยชน์สำหรับเขาด้วย” ดร. สมพร กล่าว

         ดร.สมพร ยังกล่าวต่อว่า ในปัจจุบันได้มีการพูดคุยกับหลายบริษัทซึ่งมีการเห็นชอบด้วย โดยตั้งเป้าดึงบริษัทประกันภัยอันดับ 1 – 10 ในตลาดเข้าร่วมโครงการนี้ แต่ถ้าสามารถได้ครึ่งหนึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ สำหรับแพลตฟอร์มนี้จะเชิญชวนลูกค้าของทิพยประกันภัยและพันธมิตรที่มาใช้บริการอู่ มีการให้คะแนนประเมินอู่ถ้าได้คะแนน 5 ดาวตลอด ส่งผลให้ราคาค่าซ่อมจะถูกอัพเกรดขึ้นไปตามเซอร์วิสหรือความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งนี้การอัพเกรดราคาขึ้นไม่จำเป็นต้องเป็นอู่ที่มีขนาดใหญ่โต ในขณะที่คิดว่าจะสร้างมาตรฐานของการซ่อมขึ้นมาต้องไปเชิญชวนที่มีอยู่ และบางอู่อาจจะไม่มีกำลังในการอัพเกรดตัวเองเราก็ต้องหาแหล่งเงินไม่ค่อยซัพพอร์ตเพื่ออัพเกรดตัวเองขึ้นไป สร้างเป็นมาตรฐานอย่างเดียวกันซึ่งจะทำให้ประชาชนหรือพวกประกันภัยมั่นใจว่ามาตรฐาน

        สำหรับแพลตฟอร์มนี้ทางทิพยประกันภัยไม่ได้ถือว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียว ซึ่งจะทำการเชิญชวนธุรกิจประกันภัยมาช่วยกันเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเพื่อเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว สามารถเข้ามากำหนดและไม่มีใครเอาเปรียบใคร มันจะกลายเป็นมาตรฐานอย่างเดียว เพราะฉะนั้นจะทำให้ต้นทุนประหยัดลง และไม่จำเป็นต้องมาแข่งเรื่องการซ่อม เพราะบริษัทประกันภัยที่ใหญ่จะสามารถได้ราคาค่าซ่อมที่ถูกกว่า ขณะที่บริษัทที่เล็กลงมามีค่าซ่อมที่แพงกว่า แต่ถ้าเมื่อมองมาทั้งระบบแล้วยกตัวอย่าง เช่น A เป็นบริษัทใหญ่ B เป็นบริษัทเล็ก แผลอย่างเดียวกัน แต่ A ค่าซ่อม 10,000 บาท B ค่าซ่อม 14,000 บาท A จะรู้สึกว่าได้เปรียบที่ต้นทุนเราถูกกว่า แต่สุดท้ายรถเกิดอุบัติเหตุชนกันบริษัทใหญ่อาจต้องมาจ่ายในราคา 14,000 บาทอยู่ดี ซึ่งเป็นเหตุต้องทำให้ระบบการซ่อมเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเชื่อมั่นว่าถ้าเป็นในระบบเดียวกันแล้วอู่ในเครือทั้งหมดรวมกันถึง 1,000 อู่


คลิปวิดีโอ