เข้าสู่ช่วงสิ้นปีที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนเริ่มหันมาวางแผนการเงินในชีวิตและเตรียมความพร้อมสำหรับการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเมื่อลองคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแล้ว เห็นว่าต้องจ่ายภาษีจำนวนไม่น้อย จึงเริ่มที่จะมองหาตัวช่วยในการลดภาระตรงนี้ได้ด้วยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีนอกเหนือจากค่าลดหย่อนส่วนตัว ซึ่งโดยส่วนมากมักจะนึกถึงผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนควบคู่ไปกับการได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี เช่น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) โดยลืมนึกไปว่า “ประกันสุขภาพ” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีที่มีความสำคัญไม่แพ้ผลิตภัณฑ์การลงทุน เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ในการปิดความเสี่ยงผ่านการให้ความคุ้มครองในรูปแบบต่าง ๆ
การวางแผนทางการเงิน
การวางแผนการเงิน ไม่ใช่แค่เรื่องของการลงทุน แต่เป็นเรื่องของการมองภาพรวมทางการเงินในมุมกว้าง ทั้งเรื่องของการบริหารรายรับ-รายจ่าย การจัดการหนี้สิน การปกป้องคุ้มครองและต่อยอดทรัพย์สินด้วยการวางแผนการลงทุน รวมถึงวางแผนภาษีเพื่อดึงเงินกลับคืนมาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนภาษีสำหรับผู้มีรายได้ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือฟรีแลนซ์ ล้วนจำเป็นต้องยื่น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ทุกปี ซึ่งจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีจะขึ้นอยู่กับรายได้ ยิ่งมีรายได้มากเท่าไรก็ต้องจ่ายมากขึ้น แต่ถ้ารู้จักวางแผนภาษีล่วงหน้าก็สามารถประหยัดได้มาก รวมทั้งสามารถบริหารจัดการตัวเองให้ชำระภาษีได้ตรงเวลาอีกด้วย
ทุกคนสามารถวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบง่ายๆได้ด้วยตนเอง โดยสิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ประมาณตัวเลขคร่าว ๆ เพื่อดูว่าในปีนี้เรามีรายได้ หรือที่เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” เท่าไร สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส และประเภทที่ 2 เช่น ค่านายหน้า เบี้ยประชุม ตรงนี้จะหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนี้ยังหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีกคนละ 60,000 บาท เมื่อรวมรายได้ทั้งหมด พร้อมกับหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัวแล้ว จะเหลือเป็น “เงินได้สุทธิ” ซึ่งเงินได้สุทธิที่ไม่เกิน 310,000 บาท (เฉลี่ยมีรายได้ไม่เกิน 25,833 บาท/เดือน) จะไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าสูงกว่า 310,000 บาท/ปี หรือคนที่มีเงินเดือน 25,833 บาทขึ้นไป หากไม่มีตัวช่วยประหยัดภาษีอื่น ๆ จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราขั้นบันได
ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้วเห็นว่าต้องจ่ายภาษีจำนวนไม่น้อย ยังสามารถลดภาระตรงนี้ได้ด้วยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีนอกเหนือจากค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท ซึ่งมีให้เลือกอยู่หลายรูปแบบ แต่ปัจจุบันที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากมนุษย์เงินเดือนในช่วงหลายปีหลังมานี้ ก็คือ ประกันสุขภาพ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท โดยเหตุผลที่คนไทยหันมาซื้อประกันสุขภาพมากขึ้นนั้น เนื่องจากเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นทุกปี
ทำไมต้องทำประกันสุขภาพ เพื่อลดหย่อนภาษี ?
“ประกันสุขภาพ” เป็นประกันภัยรูปแบบหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองต่อสุขภาพร่างกาย โดยบริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ยิ่งในตอนนี้ที่สถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัว ล้วนเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต จนอาจต้องสูญเสียเงินที่หามาได้ไปกับค่ารักษาพยาบาล ดังนั้นกับคำถามที่ว่าทำประกันสุขภาพไปเพื่ออะไร จึงสามารถตอบได้ว่าการทำประกันสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นตัวช่วยในการรองรับความเสี่ยงจากโรคภัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ท้ายที่สุด แม้ว่าการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพจะถือว่าได้ประโยชน์จากการคุ้มครองและได้นำไปใช้ลดหย่อนภาษีในเวลาเดียวกัน แต่ต้องเลือกซื้อประกันสุขภาพที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่าง “คุ้มค่า” ซึ่งควรปรึกษาขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบประกันให้ตอบโจทย์ตามความต้องการ รวมทั้งศึกษาข้อมูลกรมธรรม์ และความเสี่ยงของตัวเราให้มากที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่าจริง ๆ โดยสิ่งสำคัญก่อนทำประกันจะต้องไม่ลืมศึกษาเงื่อนไขข้อมูลกรมธรรม์อย่างละเอียด
และสำหรับทางซมโปะ ประกันภัย ก็มีประกันสุขภาพเต็มเต็มและดีดี ที่ให้คุณสามารถเลือกความคุ้มครองได้ตามใจ ซึ่งความคุ้มครอง ครอบคลุมทุกรายการ ทั้งค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าผ่าตัด ค่ารถพยาบาล คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและฉุกเฉินวงเงินค่ารักษาต่อครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี และยังให้คุณสามารถใช้เบี้ยประกันสำหรับลดหย่อนภาษีได้เต็ม 25,000 บาท