วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน 2567 15:36น.

เมย์แบงก์ จัดงาน “ติด BUFF การเงิน TALK SHOW” ฟินฟลูเอนเซอร์ทอล์คโชว์ครั้งแรกในไทย

26 พฤศจิกายน 2024

          กิจกรรม ‘ติด Buff การเงิน Talk Show’ ครั้งแรกในรูปแบบฟินฟลูเอนเซอร์ทอล์คโชว์ สานต่อวิสัยทัศน์เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) เพื่อสร้างโอกาสการลงทุนที่เท่าเทียม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ JumpStart ที่มุ่งให้ความรู้คู่ความบันเทิงในเรื่องการเงิน โดยได้รับเกียรติจากนายจักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากเพจ Money Buffalo และนายศรัญญู เพียรทำดี จากเพจ Buffalo Gags มาร่วมแบ่งปันความรู้ด้านการเงินและการลงทุนแบบเข้าใจง่าย ณ โรงภาพยนตร์ EARTHLAB ชั้น 9 เซ็นทรัลเวิลด์

         งานนี้จัดเต็มทั้งแสง สี เสียง พร้อมจำลองบรรยากาศ “ลงทุนแลนด์” ดินแดนแห่งการลงทุนที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ผู้เข้าร่วมจะได้สวมบทบาทเป็นนักลงทุนที่ต้องผจญภัยในโลกของการเงิน เพื่อไขว่คว้าอิสรภาพทางการเงิน โดยต้องผ่านการ “ติด Buff” หรือเพิ่มพูนความรู้ด้านการเงิน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการลงทุนและจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้คำแนะนำจากสองอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง

         กิจกรรม “ติด BUFF การเงิน TALK SHOW” ในครั้งนี้ จัดเต็มทั้งแสง สี เสียง พร้อมกันนี้ยังมีการจำลองบรรยากาศให้ราวกับหลุดเข้าไปอยู่ในเกม ซึ่งจำลองให้เป็น “ลงทุนแลนด์” ดินแดนที่เต็มไปด้วยความพิศวง ทุกคนที่เข้ามา จะถูกสาบให้เป็นแมงเม่าสายพันธุ์ประหลาด เพราะไม่ได้บินเข้ากองไฟ แต่บินเข้ากองทุน หรือ หุ้นต่างๆ ความพิเศษของดินแดนแห่งนี้ คือ ภูมิประเทศเต็มไปด้วยดอย แถมบนดอยยังมีอำนาจลึกลับ ทำให้ผู้คนเสพติด หลายคนขึ้นไปแล้วไม่ได้กลับลงมาอีกเลย แต่ไม่ว่าลงทุนแลนด์จะน่าพิศวง หรือ เสี่ยงอันตายเพียงใด ที่นี่กลับไม่เคยขาดผู้กล้าที่จะเดินทางเข้ามา เพราะเป็นดินแดนที่สามารถทำให้ความปรารถนาของทุกคนที่ต้องการมีอิสรภาพทางการเงินเป็นจริงได้ เพียงแต่การจะพิชิตเป้าหมายได้นั้น ผู้เล่น ต้องผ่านการ “ติด Buff” ซึ่งหมายถึงการเพิ่มความรู้ด้านการเงิน เพื่อเพิ่มพลังการลงทุนให้แข็งแกร่งขึ้น เสริมความมั่นใจในการจัดการเงินของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพในแต่ละด่าน โดยมีสองอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง เป็นผู้ให้คำแนะนำ

นี่หรือ…เงิน

         ก่อนจะเริ่มลงทุน สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าทำไมการลงทุนถึงจำเป็น หลายคนคงคุ้นกับคำว่า “เงินเฟ้อ” – ตัวการสำคัญที่บั่นทอนมูลค่าเงินในกระเป๋าเรา ยิ่งเงินเฟ้อสูง มูลค่าเงินยิ่งลดลง การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินเฟ้อจึงเป็นวิธีรักษามูลค่าเงินที่ดีที่สุด แต่ที่ผ่านมา หลายคนไม่กล้าลงทุนด้วยหลายเหตุผล ทั้งความกลัว ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร มองว่าการเงินเป็นเรื่องซับซ้อน หรือคิดว่าต้องใช้เงินก้อนใหญ่ เพื่อขจัดความกังวลเหล่านี้ เราควรเริ่มจากการวางเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน แม้แต่ละคนจะมีเป้าหมายต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ล้วนต้องการอิสรภาพทางการเงิน นั่นคือการปลอดหนี้ที่เกินกำลัง มีเงินสำรองเพียงพอยามฉุกเฉิน มีค่าใช้จ่ายสำหรับชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องกังวล และมีรายได้จากการลงทุน (Passive Income) ที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตตามที่ต้องการ และสุดท้าย หากคุณมีเงินก้อนหนึ่งและกำลังคิดว่าจะลงทุนอะไรดี คำตอบง่ายๆ คือ ลงทุนในสิ่งที่คุณรู้จัก ถนัด มีทักษะ และเข้าใจความเสี่ยง

รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง

        การลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของตลาด การปรับดอกเบี้ย สภาพคล่อง หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน วิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือการกระจายการลงทุน ดั่งสุภาษิตที่ว่า “อย่าเก็บไข่ไก่ไว้ในตะกร้าเดียว”นักลงทุนควรเลือกกระจายการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนรับได้ มือใหม่อาจเริ่มจากการลงทุนความเสี่ยงต่ำ ขณะที่ผู้มีประสบการณ์อาจเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น เมื่อรู้จักตัวเองแล้ว จึงสามารถเลือกเครื่องมือลงทุนที่เหมาะสม ตั้งแต่ตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองและคริปโต นอกจากนี้ยังสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีให้เลือกหลากหลาย โดยมือใหม่อาจเริ่มจากกองทุนตลาดเงินหรือตราสารหนี้ระยะสั้น แล้วค่อยๆ ขยับไปสู่กองทุนที่มีความเสี่ยงและผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น กองทุนหุ้น กองทุนต่างประเทศ หรือการลงทุนในหุ้นรายตัว ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้

ลงทุนไม่ลงทุย

        หลังจากรู้จักตัวเองและสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้แล้ว อีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจก่อนจะเข้าสู่โลกการลงทุน คือ พีรามิดทางการเงิน (Financial Pyramid) ซึ่งประกอบด้วย (1)เงินสำหรับใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs) และ การจัดการความเสี่ยง (Risk Managements) ในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน (2) เงินสำหรับเก็บสะสม เพื่อวางแผนอนาคต เช่น สางแผนการศึกษาให้ลูก วางแผนการเกษียณ (3) เงินสำหรับการลงทุนตามล์สไตล์และความสนใจ ประโยชน์ของพีรามิดทางการเงิน คือ ทำให้ผู้ลงทุนเห็นว่าก่อนจะเริ่มต้นลงทุน ต้องเริ่มจากการวางรากฐานสถานะการเงินอย่างไร เพราะถ้าไม่เริ่มจากการปูรากฐานให้มั่นคง นำเงินที่มีไปลงทุนทั้งหมด ถ้าจังหวะไม่ดี การลงทุนไม่ได้ให้ผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ จะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินทั้งหมด

เมื่อพร้อมแล้ว…ก็ถึงเวลาลุย!

         เมื่อติด Buff ผ่านครบทุก Stage ถึงเวลาลงมือลงทุน โดยมือใหม่อาจเริ่มจากสูตร 60:30:10 คือ แบ่ง 60% สำหรับค่าใช้จ่ายประจำวัน 30% สำหรับการลงทุน และ 10% สำหรับเงินออม ซึ่งสามารถปรับสัดส่วนได้ตามสภาพคล่อง ทั้งนี้ “เวลา” เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ดอกเบี้ยทบต้นทำงานได้ดีที่สุด ดังตัวอย่าง การลงทุน 5,000 บาทต่อเดือน ผลตอบแทน 8% ต่อปี หากลงทุน 10 ปี จะมีเงิน 1 ล้านบาท แต่หากลงทุน 30 ปี จะเพิ่มเป็น 7.5 ล้านบาท

         แม้การลงทุนมีความเสี่ยง แต่หากไม่รับความเสี่ยง เงินก็ไม่งอกเงย (No Risk, No Return) ผู้ลงทุนสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ เริ่มตั้งแต่แบบช้าแต่ชัวร์อย่างเงินฝากและกองทุนตลาดเงิน (ผลตอบแทน 0.25-1.5% ต่อปี) ไปจนถึงพันธบัตรและหุ้นกู้ (2-4% ต่อปี) กองทุนรวมและหุ้น (5-10% ต่อปี) หรือสำหรับสายซิ่งที่พร้อมรับความเสี่ยงสูง อาจเลือกลงทุนในหุ้นไทย-ต่างประเทศและตราสารอนุพันธ์ (10%+ ต่อปี) โดยยิ่งความเสี่ยงสูง โอกาสไปถึงเป้าหมายก็ยิ่งเร็วขึ้น

         ทั้งนี้ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาในการศึกษาข้อมูล หรือ ไม่ได้มีความรู้การลงทุนมากนัก แนะนำให้เลือกลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง เปรียบเหมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นก 5 ตัว เพราะ (1) มีผู้เชี่ยวชาญดูแลพอร์ตการลงทุน (2) มีทางเลือกลงทุนหลากหลาย (3) ตอบโจทย์ทุกวัตถุประสงค์การลงทุน สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุน (4)ใช้เงินลงทุนน้อย หลักร้อยก็ลงทุนได้ (5) ได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี

        มาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเห็นภาพแล้วว่า การลงทุนสำคัญอย่างไร และทำให้เราจึงควรเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่วันนี้ ถ้าไม่แน่ใจว่าควรออกสตาร์ตจากตรงไหน เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการโหลดแอปพลิเคชั่น Maybank Invest (MBi) ที่มีฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้การจัดการบัญชีง่ายขึ้น และเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลาย รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ ด้วยการนำเทคโนโลยีฟินเทคและคำแนะนำทางการเงินมาใช้ นอกจากนี้ แอป MBi ยังช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลการลงทุนที่ตรงตามเป้าหมายและมีเครื่องมือที่สะดวก ช่วยตัดสินใจด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นใจอีกด้วย


คลิปวิดีโอ