วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 13:49น.

กรุงเทพประกันชีวิต ออก “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” ซื้อ 1 ได้ถึง 2 ตอบโจทย์แผนสร้างกองทุนการศึกษาเพื่ออนาคตลูก

27 กุมภาพันธ์ 2024

        กรุงเทพประกันชีวิต ออกประกันสะสมทรัพย์ใหม่ ซื้อ 1 ได้ถึง 2 “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” สนับสนุนทุกครอบครัวออมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาลูก กับ 3 แบบประกัน ให้เลือกตามระยะเวลาคุ้มครองที่ต้องการ 15 ปี, 18 ปี และ 21 ปี ครบสัญญาจะได้รับเงินคืน 115%, 118% หรือ 121% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมตามจริง พร้อมอุ่นใจกับความคุ้มครองพิเศษด้านอุบัติเหตุ และ 4 โรคร้ายแรงในเด็ก รวมทั้งคุ้มครองไปถึงคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ลูกจะได้ยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัยและรับเงินก้อนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน พร้อมมั่นใจได้ว่าลูกจะมีเงินทุนเรียนต่อจนจบการศึกษาเพราะครบกำหนดสัญญามีเงินก้อนคืนให้

       นายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่แรกเกิด จนเข้าสู่วัยเรียนและจบการศึกษาเป็นสิ่งที่ทุกครอบครัวตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงการคลอดบุตร และการเลี้ยงดูในแต่ละช่วงวัย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนมีการปรับตัวสูงขึ้นตามยุคสมัย โดยพบว่า *ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาชั้นอนุบาล อายุ 4–6 ปี จะอยู่ระหว่าง 24,000–530,000 บาท/ ปี, ชั้นประถม อายุ 7–12 ปี จะอยู่ระหว่าง 26,000–668,000 บาท/ปี,ชั้นมัธยม อายุ 13–18 ปี จะอยู่ระหว่าง 30,000–765,000 บาท/ ปี และระดับชั้นปริญญา อายุ 19–22 ปี จะอยู่ระหว่าง 26,000–1,000,000 บาท/ปี (*ข้อมูลค่าเทอมจากเว็บไซต์ของโรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทย ปี 2566)

        “จากตัวเลขดังกล่าว เราตระหนักได้ว่า หากทุกครอบครัวเริ่มต้นวางแผนทางการเงินที่ดีให้กับลูกตั้งแต่อายุน้อย จะช่วยสร้างความอุ่นใจทั้งในเรื่องทุนการศึกษาไม่ว่าจะเติบโตในช่วงวัยไหน โดยกรุงเทพประกันชีวิตได้ออกแบบประกันสะสมทรัพย์ใหม่เพื่อสนับสนุนให้ทุกครอบครัวได้สร้างวินัยในการออมเงินเพื่อเป้าหมายลูกน้อยในอนาคตกับ “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” แบบประกันที่ตอบโจทย์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการวางแผนเก็บเงินให้ลูกเพื่อเป็นทุนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นชั้นมัธยมปลาย ปริญญาตรี หรือปริญญาโท”

        “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” มีแบบประกันให้เลือกถึง 3 แบบ ตามระยะเวลาความคุ้มครองที่เหมาะสม ประกอบด้วย กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์ 15/9 ชำระเบี้ยประกันภัย 9 ปี คุ้มครอง 15 ปี เมื่ออยู่จนครบสัญญาจะได้รับเงินคืน 115% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมตามจริง, กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์ 18/12 ชำระเบี้ยประกันภัย 12 ปี  คุ้มครอง 18 ปี เมื่ออยู่จนครบสัญญาจะได้รับเงินคืน 118% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมตามจริง และ กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์ 21/15 ชำระเบี้ยประกันภัย 15 ปี คุ้มครอง 21 ปี เมื่ออยู่จนครบสัญญาจะได้รับเงินคืน 121% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมตามจริง สามารถสมัครได้ตั้งแต่แรกเกิด–อายุ 14 ปี และชำระเบี้ยประกันภัยคงที่เริ่มต้นเพียง 200 บาทต่อเดือน

        “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” นอกจากช่วยสร้างวินัยการออมเงินแล้ว ยังได้รับความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมที่หลากหลายและยังครอบคลุมสุขภาพของลูก อาทิ ความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุด้วยวงเงินค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุด 5 เท่าของเบี้ยรายเดือนต่อครั้งที่เข้ารักษา ความคุ้มครอง 4 โรคร้ายแรงในเด็ก ได้แก่ โรคไข้รูห์มาติก ที่ทำให้หัวใจผิดปกติ โรคคาวาซากิ ที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคน้ำไขสันหลังในสมองมาก ซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย รับเงิน 50% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการรักษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และยังเพิ่มความคุ้มครองให้กรณีพ่อหรือแม่ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รับเงินทันที 50% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยลูกจะยังคงได้รับความคุ้มครองของกรมธรรม์ต่อไปจนสิ้นสุดสัญญา

        “จุดเด่นของแบบประกัน“กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” เป็นการซื้อ 1 ได้ถึง 2 คือ ได้ออมเงินให้ลูกได้มีกองทุนเพื่อการศึกษาตามที่ตั้งใจ ทั้งยังคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยประกันภัย กรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน คุณพ่อคุณแม่ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ลูกจะได้ยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัย รวมทั้งยังจะได้รับเงินก้อนสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย มั่นใจได้ว่าลูกจะมีเงินทุนเรียนต่อจนจบการศึกษา เพราะครบกำหนดสัญญามีเงินก้อนคืนให้ และสำหรับตัวลูกเอง คุณพ่อคุณแม่จะหมดกังวลกับค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเล็กๆน้อยๆ เช่น หกล้ม มีดบาด หรือเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรง ตลอดจนยังมอบความคุ้มครองกรณีลูกเสียชีวิตทุกกรณี นอกจากนี้หากเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะและสายตาจากอุบัติเหตุ รับเพิ่มอีก 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย” นายโชนกล่าว


คลิปวิดีโอ