วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน 2567 17:30น.

การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 “สร้างอนาคตข้างหน้าที่ดีกว่า”

7 ธันวาคม 2021

         “เราสามารถดำเนินขั้นตอนใดได้บ้างในการพึ่งพาความรู้และความสำเร็จของกันและกัน เพื่อที่เราจะได้เข้าใกล้โลกที่ซึ่งทุกคนมีที่พักอาศัยที่เหมาะสม?” โจนาธาน เรคฟอร์ด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล (Jonathan Reckford, Chief Executive Officer of Habitat for Humanity International) ได้ตั้งคำถามขึ้นในระหว่างการเปิดประชุมเต็มคณะของการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 (The eighth Asia-Pacific Housing Forum)

        การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 เป็นการประชุมทางออนไลน์จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 ถึง 9 ธันวาคม 2564 โดยทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มหลายภาคส่วนสำหรับบุคคลและองค์กรที่มีภารกิจร่วมกันในการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบ้านที่ปลอดภัยกว่า ยั่งยืนยิ่งขึ้น และตั้งรับกับภัยพิบัติได้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชากรกลุ่มด้อยโอกาสหรือเปราะบาง ไปจนถึงกลุ่มชายขอบ

        “การได้รับสิทธิในการมีที่อยู่อาศัยเพียงพอสำหรับทุกคนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต้องที่ควรตระหนักอย่างสิ้นเชิงว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างรัฐบาลระดับชาติ ระดับท้องถิ่นกับผู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาคมระหว่างประเทศ” ไมมูนาห์ โมห์ด ชาริฟ กรรมการบริหารโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (Maimunah Mohd Sharif, Executive Director of United Nations Human Settlements Programme: UN-HABITAT) กล่าวในสุนทรพจน์ของเธอ

        องค์การสหประชาชาติประเมินว่าผู้คนจำนวน 1.8 พันล้านคน หรือมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ต้องการที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ผู้คนหลายล้านคนอาศัยอยู่ในสภาพยากจนแร้นแค้นเป็นอย่างมาก โดยมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่ 1.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน และยังเป็นที่ซึ่งชุมชนต่าง ๆ ยังคงต้องต่อสู้กับผลกระทบร้ายแรงจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

        มาร์โก เมย์แรท ประธานมูลนิธิฮิลติ (Marco Meyrat, Hilti Foundation President) และหนึ่งในวิทยากรคนสำคัญของการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 ได้พูดคุยเกี่ยวกับการยกระดับการเข้าถึงของครอบครัวที่มีรายได้น้อยในการสร้างบ้านที่ดีและมีต้นทุนที่เหมาะสม “เราสนับสนุนสตาร์ทอัพที่สามารถช่วยพัฒนานวัตกรรมโซลูชันสำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่สูง เรากำลังทำงานร่วมกับผู้เล่นต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้นเพื่อเจาะตลาดระดับล่างด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการของพวกเขา ตลอดจนร่วมกับผู้ให้บริการทางการเงิน เรากำลังพัฒนากลไกในการยกระดับการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย”

        การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 นั้นครอบคลุมถึงความคืบหน้าใน 4 ประเด็น ได้แก่ สร้างเมืองและชุมชนพลวัต (Build resilient cities and communities) นวัตกรรมโซลูชันและเทคโนโลยีด้านที่อยู่อาศัย (Innovative housing solutions and technologies) ความยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย (Advance sustainability in the housing sector) และการจัดหาเงินทุนสำหรับที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม (Finance affordable housing) ส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ถือว่าเป็นประเด็นคาบเกี่ยวที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมครั้งนี้มี 3 กิจกรรมประกอบไปด้วย หลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการถือครองที่ดินและการเก็บมูลค่าของที่ดิน (Land Value Capture) การประชุมเยาวชนครั้งที่สาม (The third Youth Congress) และงานมอบรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Innovation Awards Grand Premiere) ซึ่งจัดไปแล้วก่อนการประชุมใหญ่ครั้งนี้

        ทั้งนี้ จะมีการประกาศชื่อผู้ชนะรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมที่ถือเป็นการเฉลิมฉลองให้กับโครงการที่สามารถนำเสนอการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติที่ยั่งยืนเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านที่อยู่อาศัยได้ โดยจะประกาศในช่วงพิธีปิดการประชุมในวันที่ 9 ธันวาคม 2564 นอกจากนี้ จะมีการอ่านถ้อยแถลงที่ร่างขึ้นโดยองค์กรพันธมิตรตลอดจนผู้เข้าร่วม Youth Congress ที่กล่าวถึงสิ่งที่สามารถ “สร้างอนาคตข้างหน้าที่ดีกว่าเพื่อที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน (building forward better for inclusive housing)” ที่แท้จริงตามหัวข้อของการประชุมว่ามีความหมายอะไรต่อเยาวชนในภูมิภาคนี้

        การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 จัดขึ้นโดยองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล ร่วมด้วยโครงการ SWITCH-Asia ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) เพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production: SCP) การประชุมนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฮิลติ เวิร์ลพูล คอร์ปอเรชั่น (Whirlpool Corporation) สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Agence Française de Développement: AFD) อยาลา คอร์ปอเรชั่น (Ayala Corporation) อยาลา แลนด์ (Ayala Land) PT Caturkarsa และมูลนิธิซอมฟี (Somfy Foundation) รวมถึงพันธมิตรอื่น ๆ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) มูลนิธิคาดาสตา (Cadasta Foundation) Cities Alliance สถาบันนโยบายที่ดินลินคอล์น (Lincoln Institute of Land Policy) บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (Total Quality PR: TQPR) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิกของสหประชาชาติ (The United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: UNESCAP) UN-HABITAT กลุ่มหลักของสหประชาชาติเพื่อเด็กและเยาวชน (UN Major Group for Children & Youth) มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (University of New South Wales) และธนาคารโลก การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกในครั้งนี้มีผู้ลงทะเบียนแล้วเกือบ 2,000 คน

         ก่อนที่จะมีการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 ก็มีการจัดการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยหลายเวทีด้วยกัน อย่างเช่นในประเทศซามัว นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ฟิอาเม นาโอมิ มาตาอาฟา (Fiamē Naomi Mata’afa) ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ผู้เข้าร่วมการประชุมแบบไฮบริดในประเทศฟิจิเสวนาถึงปัญหาของระบบตลาดและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคที่อยู่อาศัย ประเทศกัมพูชามีผู้เข้าร่วมประมาณ 220 คน รวมถึงผู้อยู่อาศัยจากชุมชนแออัด (Informal Settlement Residents) ได้เข้าร่วมการประชุม พวกเขามุ่งเน้นถึงบทบาทของชุมชนตลอดจนการทำแผนที่เมืองเพื่อการสร้างความยืดหยุ่นหรือวิธีตั้งรับภัยพิบัติ (Building Resilience) ในเมืองต่าง ๆ ที่ประเทศอินเดียมีประชาชนมากกว่า 700 คนลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัย (India Housing Forum) เพื่อสร้างความร่วมมือเพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของรัฐบาลอินเดียเรื่อง “ที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน (Housing for All)” ส่วนที่ประเทศฟิลิปปินส์ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเข้าร่วมกับเหล่าผู้ชำนาญการและผู้นำในการประชุมทางออนไลน์ และร่วมแบ่งปันถึงวิธีที่พวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องที่อยู่อาศัยเป็นประเด็นหลักในการหาเสียง หนึ่งในการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยที่ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia Housing Forum) มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในฐานะที่เป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในขณะที่การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง (Hong Kong Housing Forum) มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงและผู้เชี่ยวชาญมาร่วมพูดคุยโดยมีการกล่าวถึงจุดบรรจบระหว่างที่อยู่อาศัยและการครอบคลุมทุกกลุ่มคน (Inclusion) ในการสัมมนาแบบพลวัตครั้งนั้น


คลิปวิดีโอ