วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 11:08น.

สมุนไพรวังพรม’ แตกไลน์ธุรกิจ ลุยตลาดกัญชงครบวงจร ปี 65

7 ตุลาคม 2021

        แบรนด์ผลิตภัณฑ์ยาหม่อง-น้ำมันนวดในใจคนไทยยุคนี้เชื่อว่าแบรนด์ ‘สมุนไพรวังพรม’ น่าจะคุ้นหูหนุ่มสาวออฟฟิศและผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย ซึ่งแม้ตลาดยาหม่อง-น้ำมันนวดจะซบเซาในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ทว่าตลาดสมุนไพรไทยกลับโตสวนกระแส และล่าสุดแบรนด์ ‘สมุนไพรวังพรม’ วางแผนต่อยอดสินค้าจับพืชเศรษฐกิจอย่างกัญชงลงขวดน้ำมันนวดและยาหม่อง พร้อมลุยธุรกิจกัญชงครบวงจร ภายใต้ชื่อ‘บริษัท สัมผัสเวลเนสเฮมพ์ จำกัด’ ในปี 2565

        คุณวัชรีภรณ์ วังพรม CFO บริษัท วังพรม เทรดดิ้ง จำกัด และ CEO บริษัท สัมผัสเวลเนสเฮมพ์ จำกัด กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจน้ำมันนวด-ยาหม่องสมุนไพร ตั้งแต่ช่วงเดือน มกราคม-กันยายน 2564 นี้ว่า “ตลาดยาหม่องสมุนไพรช่วง ช่วงปี 2563-2564 ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ทางอ้อมจากมาตรการล็อคดาวน์ ที่จำเป็นต้องปิดร้านนวด-สปา-ฟิตเนส จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปทำให้ Demand สินค้าประเภทนี้ที่ส่วนใหญ่นิยมซื้อเป็นของฝากหายไปหมด จึงเหลือเพียงการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก โดยสัดส่วนการใช้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 80 และยังมีส่งออกต่างประเทศบ้างอีกร้อยละ 20 โดยที่ผ่านมา สมุนไพรวังพรมอยู่ในกลุ่ม Top 5 น้ำมันนวดและยาหม่องสมุนไพรยอดนิยมในประเทศไทย”

        ในอดีตฐานลูกค้ายาหม่องและน้ำมันนวดวังพรมเป็นเกษตรกรที่ใช้ร่างกายค่อนข้างหนัก ต่อมาได้มีการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มหมอนวดแผนไทย นักกายภาพบำบัดและเทรนเนอร์ฟิตเนสเพื่อให้บริการลูกค้า จึงได้เริ่มขยายฐานสู่กลุ่มคนเมือง พนักงานออฟฟิศ ที่ทำงานเคร่งเครียด มีอาการปวดเมื่อยตึงตัวจากออฟฟิศซินโดรม และการ Work from Home ด้วยเนื้อสัมผัสยาที่ดี ให้สรรพคุณจากสมุนไพรแท้จึงกลายเป็นที่นิยมในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา

        “ปัจจุบันแบรนด์สมุนไพรวังพรมทำการตลาดในรูปแบบ Omni Channel เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและบริการได้หลายช่องทาง โดยแบบออฟไลน์ (Offline) มีจำหน่ายตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป และแบบ Modern trade และ Convenience Store เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น ส่วนแบบออนไลน์ (Online) เข้าถึงทุก Ecommerce Platform อาทิ ชอปปี้ ลาซาด้า เจดีเซ็นทรัล ฯลฯ พร้อมทั้งมีเว็บไซต์ www.wangpromherb.co.th และLine OA ในชื่อ “@wangpromherb” ซึ่งมีผู้ติดตามหลักหมื่น มากที่สุดในกลุ่มสินค้าประเภทเดียวกัน ทำให้ปัจจุบันสัดส่วนการจำหน่ายช่องทางออนไลน์ คิดเป็น 1 ใน 10 ของการขายทั้งหมด จากในอดีตที่ยอดขายออนไลน์ไม่ถึงร้อยละ 3”


คลิปวิดีโอ